top of page
Acupuncture_edited.jpg

การแพทย์แผนจีนแบบบูรณาการเพื่อสุขภาวะที่ดี

Integrative Chinese medicine for Well-being 

แนวคิดแบบองค์รวม (holism)* เป็นแนวความคิดเชิงปรัชญา ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความสมดุลทั้งภายในร่างกายและระหว่างร่างกายมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวความคิดนี้ ทำให้แพทย์จีนประมวลข้อมูลทางคลินิกทั้งหมดมาวิเคราะห์และประเมินอย่างรอบคอบ เพื่อให้ทราบถึงสภาพของโรคทั้งหมด

*holism : one of the philosophical ideas regarding the human body as an organic whole, which is integrated with the external environment.

แนวคิดแบบองค์รวม เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของศาสตร์การแพทย์แผนจีน แต่แนวคิดแบบองค์รวมคืออะไร วันนี้เรามีคำตอบ

แนวคิดแบบองค์รวม มีนัยสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้ 

1)  ร่างกายของมนุษย์เป็นหนึ่งเดียว โดยมีหัวใจเป็นสำคัญ เช่น อาการปวดศีรษะ แพทย์จีนอาจใช้จุดฝังเข็มที่เท้าในการรักษา เพราะเราเชื่อว่าอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เชื่อมโยงกันเหมือนใยแมงมุม การเสียสมดุลในตำแหน่งเฉพาะ ท้ายที่สุดจะทำให้สมดุลรวมถูกทำลายเช่นกัน
2)  มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียวกัน การที่ร่างกายปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ผู้นั้นมักมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และสภาพแวดล้อมสามารถส่งผลต่อความแข็งแรงของร่างกายได้ เช่น หากสภาพภูมิอากาศหนาว มักพบโรคระบบทางเดินหายใจ หากสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูง มักพบการขาดสารบางชนิด เป็นต้น ดังนั้น ร่างกายต้องปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อม จึงจะแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย
3)  มนุษย์กับสังคมเป็นหนึ่งเดียว เราปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพสังคมสามารถสะท้อนสุขภาพร่างกายได้ เช่น สงครามทำให้ผู้คนเจ็บป่วยได้ง่าย การตกงานมักทำให้ห่อเหี่ยวหมดแรง การได้เลื่อนตำแหน่ง มักทำให้กระปรี้กระเปร่า เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ คือความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดแบบองค์รวมทางการแพทย์แผนจีน ซึ่งทำให้แพทย์จีนวิเคราะห์และประเมินสภาพร่างกายโดยการประมวลข้อมูลอย่างครอบคลุม

Acupuncture%20Session_edited.jpg

การฝังเข็ม (Acupuncture)

เป็นวิธีการกระทําต่อจุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณซึ่งอยู่บนผิวหนังภายนอกของร่างกาย การฝังเข็ม จะอิงทฤษฎีเส้นลมปราณ และยังใช้ทฤษฎีพื้นฐานการแพทย์แผนจีนมาประกอบการรักษา ภายหลัง แพทย์ตรวจวินิจฉัยอาการโรคเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้เข็มที่มีขนาดเล็ก ความยาวของเข็มจะขึ้นกับความหนาบางของบริเวณที่จะลงเข็ม เข็มที่ใช้เป็นเข็มที่สะอาด ปลอดเชื้อ ทําความสะอาดผิวหนังด้วยยาฆ่าเชื้อโรค แล้วปักเข็มทะลุผิวหนังตรงจุดฝังเข็มตามแนวเส้นลมปราณที่ ตรงกับอาการของโรคในความลึกขนาดต่าง ๆ กัน แพทย์อาจมีการกระตุ้นเข็มโดยการปั󾹈นหรือซอยเข็ม เบาๆ ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงภาวะที่เรียก “เต๋อชี่” (得⽓气) คือการได้ชี่ หมายถึง อาการหรือความรู้สึกของผู้ป󰹈วยที่เกิดจากการกระตุ้นชี่ในเส้นลมปราณด้วยการฝังเข็ม เช่น ปวด ชา พองตึง หนัก หรือแม้แต่รู้สึกเหมือนถูกไฟฟ󰹉าดูด

การรักษาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 20 – 40 นาที

การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม

  • ควรรับประทานอาหารเบาๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนฝังเข็ม

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายที่พักผ่อนเพียงพอจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่า

  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เพื่อให้สามารถเปิดบริเวณที่ต้องฝังเข็มได้สะดวก เช่น แขน ขา บ่า 

  • งดออกกำลังกายหนักก่อนการฝังเข็ม ควรงดกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายอ่อนล้าก่อนเข้ารับการรักษา

  • แจ้งข้อมูลสุขภาพกับแพทย์ เช่น โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ หรือประวัติการแพ้ต่างๆ เพื่อความปลอดภัย

  • งดแอลกอฮอล์เพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานของระบบประสาท

รศ. ดร. นพ. กัมพล กรธัชพงศ์

Assoc. Prof. Kumpol Kornthtachapong, MD. PhD.  medical license 31419

Medical director: URBAVANA Integrative medicine 

  • Doctor of Medicine, Thammasat University

  • Diploma of Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital , Mahidol University

  • Doctor of Philosophy in Clinical Tropical Medicine, Mahidol University

  • Certificate of Acupuncture for medical doctors, 

       Tianjin University of Chinese Medicine and

        Physicians association of Thai Traditional and integrative medicine,

        Ministry of Public Health

  • Diploma of Homeopathic Medicine

       Faculty of Homeopathy (Brussels), Belgian school of Homeopathy, Belgium

             - LMHI Diploma

             - Member of the LIGA Medicorum Homeopathica Internationalis, international Homeopathic Medical League

  • Diploma of Traditional- Thai pharmacy,  College of intergrative Medicine, Dhurakij Pundit University

  • ​Diploma of Thai- traditional medicine, Siripatsahaclinic, Traditional Thai medical school.

  • Certificate of Reiki level 1, Thailand

IMG_5160_edited.jpg

Main Health Acupuncture Program

Integrative Chineses Medicine for Well-Being

Autonomic Nervous System Balancing 

for Balancing Sympathetic and Parasympathetic Nervous System

ภาวะเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) มีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System: ANS) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกายโดยไม่ต้องสั่งการ เมื่อเราเครียดเป็นเวลานาน สมอง โดยเฉพาะ ไฮโปทาลามัส และ ต่อมหมวกไต จะกระตุ้น ระบบซิมพาเทติก ให้ทำงานมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะที่ระบบสมดุลถูกรบกวน ดังนี้:

  • กระตุ้นระบบซิมพาเทติกอยู่ตลอดเวลาทำให้ หัวใจเต้นเร็วตลอด, ความดันสูง, น้ำตาลในเลือดสูง

  • ระบบพาราซิมพาเทติกทำงานลดลงทำให้ การย่อยอาหารแย่ลง, นอนไม่หลับ, ภูมิคุ้มกันลดลง 

  • ทำให้เกิดอาการทางกายอื่นๆ เช่น ปวดหัวเรื้อรัง, อ่อนเพลีย, ท้องอืด, ใจสั่น 

การฝังเข็ม กับการปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ

(ANS Modulation)

1. การฝังเข็มการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic)

  • ระบบนี้เกี่ยวข้องกับ “การพักและฟื้นฟู” (rest and digest) เช่น การย่อยอาหาร การนอนหลับ การฟื้นตัวของร่างกาย

  • งานวิจัยพบว่า การฝังเข็มสามารถ เพิ่มกิจกรรมของพาราซิมพาเธติก ได้ โดยเฉพาะในจุดที่ใช้ในการผ่อนคลาย หรือ จุดบนเส้นลมปราณหัวใจและไต

  • ผลที่สังเกตได้คือ:

    • ลดอัตราการเต้นของหัวใจ

    • ลดความดันโลหิต

    • เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะภายใน

    • เพิ่มระดับของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย เช่น serotonin และ endorphin

2. การลดกิจกรรมของระบบซิมพาเธติก (Sympathetic)

  • ระบบนี้เกี่ยวข้องกับ “การตอบสนองต่อความเครียด” (fight or flight) เช่น การเพิ่มความดันโลหิต หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อตึงเครียด

  • การฝังเข็มช่วย ลดกิจกรรมของซิมพาเธติก โดย:

    • ลดการหลั่ง norepinephrine

    • ลดความตึงของกล้ามเนื้อ

    • ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตผ่อนคลายขึ้น

3. หลักฐานทางวิจัย

  • การวัด Heart Rate Variability (HRV) เป็นตัวชี้วัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลังการฝังเข็ม HRV เพิ่มขึ้น สะท้อนการเพิ่มกิจกรรมของพาราซิมพาเธติก

  • การทำ fMRI แสดงให้เห็นว่า การฝังเข็มมีผลต่อสมองส่วน hypothalamus และ brainstem ซึ่งควบคุมระบบอัตโนมัติ

Reference 

  • Li QQ, Shi GX, Xu Q, Wang J, Liu CZ, Wang LP. Acupuncture effect and central autonomic regulation. Evid Based Complement Alternat Med. 2013;2013:267959. doi: 10.1155/2013/267959. Epub 2013 May 26. PMID: 23762116; PMCID: PMC3677642.

  • Sakatani K, Kitagawa T, Aoyama N, Sasaki M. Effects of acupuncture on autonomic nervous function and prefrontal cortex activity. Adv Exp Med Biol. 2010;662:455-60. doi: 10.1007/978-1-4419-1241-1_65. PMID: 20204829.

  • Hamvas S, Hegyi P, Kiss S, Lohner S, McQueen D, Havasi M. Acupuncture increases parasympathetic tone, modulating HRV - Systematic review and meta-analysis. Complement Ther Med. 2023 Mar;72:102905. doi: 10.1016/j.ctim.2022.102905. Epub 2022 Dec 6. PMID: 36494036.

 

การฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลระบบประสาทอัตโนมัติ เหมาะกับใคร​

  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสะสมเรื้อรัง

  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มperformance ในการทำงานที่มีภาวะเครียดสูง เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ เจ้าของธุรกิจ หัวหน้างาน

Yin|Yang|Qi Balancing 

for Activating Vital Energy

การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นศาสตร์บำบัดที่มีรากฐานมาจาก แพทย์แผนจีน ซึ่งมุ่งเน้นการ ปรับสมดุลของพลังชีวิต (Qi)และ พลังหยิน–หยาง (Yin–Yang) ภายในร่างกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูอวัยวะ และป้องกันโรค ซึ่งสุขภาพที่ดีเกิดจาก การไหลเวียนของ Qi อย่างราบรื่น และ สมดุลระหว่างหยิน–หยาง
หากมีการติดขัด หรือหยินหยางไม่สมดุล อาจนำไปสู่โรค

 

การฝังเข็มช่วยปรับสมดุลโดยมีหลัการที่อธิบาย

1. กระตุ้นการไหลเวียนของ Qi

  • การปักเข็มลงในจุดฝังเข็ม (Acupoints) ช่วยเปิดทางให้ Qi ที่ติดขัดไหลเวียนดีขึ้น

  • ลดภาวะ Qi ติดขัด (Stagnation) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด อ่อนเพลีย เครียด หรือโรคเรื้อรัง

2. เสริม Qi ที่พร่อง หรือ สลาย Qi ที่คั่งค้าง

  • หากร่างกายมีภาวะ Qi พร่อง เช่น เหนื่อยง่าย หนาวง่าย ฝังเข็มสามารถกระตุ้นจุดที่ช่วยเสริมพลัง

  • ถ้ามี Qi คั่ง เช่น อารมณ์เครียด ตึงเกร็ง แน่นหน้าอก ใช้จุดที่ช่วยระบายออก

3. ปรับสมดุลหยิน–หยาง

  • หากหยินพร่อง นอนไม่หลับ ร้อนใน ร้อนกลางคืน

  • หากหยางพร่อง หนาวง่าย เหงื่อออกอ่อนแรง

4. เชื่อมโยงอวัยวะภายในตามหลัก 5 ธาตุ

  • ฝังเข็มช่วยประสานการทำงานของ ตับ–หัวใจ–ม้าม–ปอด–ไต
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ การย่อย อุณหภูมิ และภูมิคุ้มกัน

 

​reference 

  • Van Hal M, Dydyk AM, Green MS. Acupuncture. 2023 Jul 24. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2025 Jan–. PMID: 30335320.

 

การฝังเข็มเพื่อปรับสมดุล yin | yang | qi เหมาะกับใคร​

  • ผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่สดชื่น ขาดแรงจูงใจในการทำงาน 

  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มเสริมพลังในการใช้ชีวิตประจำวัน 

  • ผู้ที่ต้องการเพิ่ม performance ในการใช้ชีวิตประจำวัน

Circadian Rhythm Balancing 

for Healthy Sleep

การฝังเข็ม (Acupuncture) มีผลเชิงบวกต่อการนอนหลับทั้งในแง่ คุณภาพการนอน และ ระยะเวลาการนอน โดยผ่านกลไกที่เกี่ยวข้องกับ ระบบประสาท, สารสื่อประสาท, และ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับ (circadian rhythm)

  • เพิ่มการทำงานของพาราซิมพาเธติก (rest mode)  ช่วยให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย พร้อมสำหรับการนอน

  • เพิ่มระดับ NTs ที่มีผลต่อการนอนหลับ ได้แก่  serotonin, GABA และ endorphin ช่วยลดความวิตกกังวล ปรับอารมณ์ให้สงบ

  • มีงานวิจัยบางส่วนพบว่าการฝังเข็มช่วยเพิ่มระดับเมลาโทนินซึ่ง ฮอร์โมนนี้เป็นตัวควบคุมวงจรการนอนหลับ-ตื่น

  • ทำให้หลับได้ง่ายขึ้น หลับสนิทโดยลด cortisol และสมดุลระบบ limbic ในสมอง ซึ่งการฝังเข็มทำให้ ลดความเครียดและความวิตกกังวล

reference

  • Kim SA, Lee SH, Kim JH, van den Noort M, Bosch P, Won T, Yeo S, Lim S. Efficacy of Acupuncture for Insomnia: A Systematic Review and Meta-Analysis. Am J Chin Med. 2021;49(5):1135-1150. doi: 10.1142/S0192415X21500543. Epub 2021 May 27. PMID: 34049475.

  • Zhao FY, Spencer SJ, Kennedy GA, Zheng Z, Conduit R, Zhang WJ, Xu P, Yue LP, Wang YM, Xu Y, Fu QQ, Ho YS. Acupuncture for primary insomnia: Effectiveness, safety, mechanisms and recommendations for clinical practice. Sleep Med Rev. 2024 Apr;74:101892. doi: 10.1016/j.smrv.2023.101892. Epub 2023 Dec 11. PMID: 38232645.

  • Cheuk DK, Yeung WF, Chung KF, Wong V. Acupuncture for insomnia. Cochrane Database Syst Rev. 2012 Sep 12;2012(9):CD005472. doi: 10.1002/14651858.CD005472.pub3. PMID: 22972087; PMCID: PMC11262418.

 

การฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลการนอนหลับเหมาะกับใคร​

  • ผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง

Female Hormone Balancing 

for PMS | Menopause

การฝังเข็ม (acupuncture) มีบทบาทที่น่าสนใจต่อระบบร่างกายของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal women) ทั้งในด้านอาการทางกายและจิตใจ โดยเฉพาะในเรื่องของฮอร์โมน อารมณ์ และอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes)

Acupuncture 

  • ปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ และลดการหลั่ง norepinephrine ช่วย ลดความถี่และความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบ

  • เพิ่ม serotonin, endorphin และ GABA ในสมอง ช่วยปรับสมดุลอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความเครียด ลดภาวะซึมเศร้า 

  • ปรับ circadian rhythm และเพิ่ม melatonin ช่วยให้หลับง่ายขึ้น หลับลึกขึ้น

  • กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและการดูดซึมแร่ธาตุ ชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุน

reference

  • Li Y, Zheng H, Zheng Q, Zhao L, Qin E, Wang Y, Zeng Q, Zheng H, Zhao Y, Sun W, Zhang X, Liu Z, Liu B. Use acupuncture to relieve perimenopausal syndrome: study protocol of a randomized controlled trial. Trials. 2014 May 30;15:198. doi: 10.1186/1745-6215-15-198. PMID: 24886348; PMCID: PMC4055374.

  • Yang CY, Liu L, Ge HX, Zhu ZY. [Acupoint catgut embedding for perimenopausal syndrome: a clinical controlled trial]. Zhongguo Zhen Jiu. 2014 Oct;34(10):961-4. Chinese. PMID: 25543423.

 

 

การฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลในผู้หญิง

  • ผู้ที่มีภาวะใกล้หมดประจำเดือน perimenopausal syndrome

  • ผู้ที่มีภาวะความผิดปกติหลังหมดประจำเดือน

Office Syndrome 

for Head Neck and Shoulder Tension

การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นหนึ่งในแนวทางการแพทย์แผนจีนที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการของ Office Syndrome ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลังส่วนบน ซึ่งเกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน

 ประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษา Office Syndrome

  • ลดอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อ

    การฝังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (endorphins) และสารระงับปวดอื่น ๆ ภายในร่างกาย

  • พิ่มการไหลเวียนของเลือดและพลังงาน (Qi)

    ทำให้กล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งผ่อนคลาย และช่วยลดการอักเสบ

  • ฟื้นฟูสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ

    โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ร่วมกับความเครียด หรือการนอนไม่หลับ

  • ลดการใช้ยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อ

    โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ต้องการใช้ยาเป็นประจำ

reference

  • Minakawa Y, Miyazaki S, Waki H, Akimoto Y, Itoh K. Clinical effectiveness of trigger point acupuncture on chronic neck and shoulder pain (katakori) with work productivity loss in office workers: a randomized clinical trial. J Occup Health. 2024 Jan 4;66(1):uiad016. doi: 10.1093/joccuh/uiad016. PMID: 38273431; PMCID: PMC11020276.

  • Wong JJ, Shearer HM, Mior S, Jacobs C, Côté P, Randhawa K, Yu H, Southerst D, Varatharajan S, Sutton D, van der Velde G, Carroll LJ, Ameis A, Ammendolia C, Brison R, Nordin M, Stupar M, Taylor-Vaisey A. Are manual therapies, passive physical modalities, or acupuncture effective for the management of patients with whiplash-associated disorders or neck pain and associated disorders? An update of the Bone and Joint Decade Task Force on Neck Pain and Its Associated Disorders by the OPTIMa collaboration. Spine J. 2016 Dec;16(12):1598-1630. doi: 10.1016/j.spinee.2015.08.024. Epub 2015 Dec 17. PMID: 26707074.

 

การฝังเข็มเพื่อรักษาภาวะปวดตึง คอ บ่า ไหล่ เหมาะกับใคร​

  • ผู้ที่มีภาวะตึง คอ บ่า ไหล่ หรือ ผู้ที่มีอาการ Office Syndrome

bottom of page